วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรียนสาขาอะไรจะหางานง่าย เรียนสาขาไหนจบมาแล้วรายได้สูง

เรียนสาขาอะไรจะหางานง่าย เรียนสาขาไหนจบมาแล้วรายได้สูง
ทำไมต้องสาขาแห่งอนาคต




ผมเชื่อว่าสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศ “ยากจน” ไม่ว่าเราจะมีมหาวิทยาลัยมากมายแค่ไหน มีทรัพยากรมากเพียงใด เราไม่มีทางก้าวไปไกลกว่าหรือแม้แต่เท่าเทียมประเทศทางยุโรปและอเมริกา
เพราะเราเดินตามเขามาตลอด และนั่นทำให้เราหลงยุค ครับ!!
ประมาณ ร้อยปีที่ผ่านมา เป็นยุค “ทรัพยากร” คือประเทศไหนมีคนมาก มีที่ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ ประเทศนั้นก็จะมั่งคั่งสมบูรณ์ เรียกได้ว่าประเทศเหล่านี้ต่างพากัน “ร่ำรวย”
ดังนั้น...ประเทศในยุโรปจึงต้องแสวงหาแผ่นดินและทรัพยากร
ยุโรปก็พัฒนาการศึกษาไปในด้านผลิตอาวุธและ การทหารที่ทันสมัย เพื่อล่าอาณานิคม หาแหล่งเพชร น้ำมัน แร่ธาตุ อาหาร ไปทั่วโลก
อังกฤษก็เลยได้บางส่วนของทวีปแอฟริกา อินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ พม่า เป็นอาณานิคม ฝรั่งเศส มาได้เวียดนาม ลาว กัมพูชา โปรตุเกสได้ มาเก๊า
ยุคนั้น ใครมีทรัพยากรมากก็จะร่ำรวย เศรษฐกิจดี
ประเทศไทย ในช่วงนั้น นับได้ว่ามีเศรษฐกิจดี ประชาชนอยู่ดีกินดี เพราะ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เรียกว่าตรงยุค…
ต่อมายุคอาณานิคม หมดไป เพราะการ “ปฏิวัติอุตสาหกรรม” ซึ่งนำโดยอเมริกา การศึกษาของอเมริกันที่มุ่งไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรม จนทำให้ ประเทศที่ไม่มีทรัพยากร แต่ “ระบบอุตสาหกรรมดี” สามารถสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศตนเองได้ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมดี ๆ หนึ่งแห่งผลิตสินค้าได้เท่าคนในประเทศที่ไม่มีระบบอุตสาหกรรมทำงานทั้งเมือง
ประเทศที่ “ไม่หลงยุค” จึงพัฒนาอุตสาหกรรม ประเทศไทยเราเริ่มหลงยุคในช่วงนี้แหละครับ เพราะมัวแต่ “ส่งออกทรัพยากร” โดยไม่พัฒนาการศึกษาด้านอุตสาหกรรม
พอเราเห็น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ร่ำรวยเพราะอุตสาหกรรม เราก็เร่งพัฒนากับเขาด้วย
ทิศทางการศึกษาบ้านเราก็เลยมุ่งเน้นไปที่การ ”ผลิตบุคลากร” ทางอุตสาหกรรม มีการตั้งสถาบันเทคโนโลยี หลายแห่งโดยความช่วยเหลือจาก เยอรมัน ญี่ปุ่น..และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนเปิดโรงเรียนช่างกล ช่างยนต์ ช่างอุตสาหกรรม กันเต็มประเทศ !!
ซึ่งดู ๆ แล้วก็น่าจะดี แต่ว่ามัน “ช้าไปหน่อย” เพราะตอนที่เราเริ่มนั้น ยุคอุตสาหกรรมกำลังเสื่อมไปแล้ว...
เราเลยเห็นวิศวกรไทย “ตกงาน” กันเยอะ ช่างอุตสาหกรรมหางานยาก เงินเดือนไม่สูง และประเทศเราก็ยังคงสถานะประเทศยากจนอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะเราตกยุค ขณะที่ทิศทางการศึกษาเราก็ยังเน้นไปที่ “อุตสาหกรรม” อยู่เหมือนเดิม
ส่วนประเทศผู้นำต่างๆ เขาเริ่มเข้าสู่ยุค “ข้อมูลข่าวสาร” กันแล้ว
ยุคข้อมูลข่าวสาร นี่ มี “ลักษณะพิเศษ” คือ ประเทศที่มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร มีการจัดการด้านข้อมูลข่าวสารได้ดีกว่าจะกลายเป็นประเทศที่ “ร่ำรวย”
เพราะสามารถนำเอาข้อมูล ให้กลายมาเป็นความรู้ได้
ไม้กอล์ฟที่เราซื้อกันในราคา 10,000บาท ผลิต ที่ลำพูน ค่าผลิต 2,000บาท ส่วนอีก 8,000บาทคือ “ค่าจัดการ” ค่าคิดระบบ พัฒนาด้านสารสนเทศครับ
น่าเสียดายที่คนไทยเราได้รับแค่ 2,000 บาทเพราะเป็นภาคอุตสาหกรรม
พอเริ่มรู้ตัวตอนนี้ก็เร่งตามเขาอีกแล้ว เพราะเห็นประเทศที่พัฒนาด้านระบบข้อมูลร่ำรวย เราก็จะวิ่งตามเขา
เห็นสิงคโปร์ ประเทศเล็ก ๆ ซึ่งมีประชากรน้อยกว่าชาวกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ ทั้งประเทศ ขนาดเท่าจังหวัดนนทบุรี ไม่มีแร่ธาตุ ไม่มีป่าไม้ ไม่มีน้ำมัน ไม่มีแม้กระทั่งน้ำกิน กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยอันดับ 1 ถึง 3 ของเอเซีย เลยเร่งเรียนคอมพิวเตอร์
“วิศวคอมพิวเตอร์” กลายเป็นสาขายอดนิยมในบ้านเรา
การจัดการข้อมูล “สารสนเทศ” ได้รับความสนใจ มีการเปิดสอน ทุกมหาวิทยาลัย
ผมกลัวว่าเรากำลังจะตกยุคกันอีกแล้วครับ…
เพราะเมื่อข้อมูลต่างๆ เข้าถึงได้ง่าย ระบบความรู้ ต่าง ๆ “ราคา” จะไม่สูงเหมือนเดิม แล้วเราแห่เรียนด้านนี้กันเยอะแยะ
มันตกยุคกันอีกไหม !!
แล้วยุคหน้าล่ะ มันน่าจะเป็นยุคของอะไร
และเราควรเตรียมตัวอย่างไร
ในเล่มนี้คือ “คำตอบ” ที่อยากบอกให้เรารู้ อยากเตือนให้เราคิด
ความจริงแล้วถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า มีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวันและ นับวันจะยิ่งมีอัตราการเพิ่มของอาชีพใหม่ๆสูงขึ้นเรื่อยๆ สถิติล่าสุดในอเมริกามีอาชีพเกิดขึ้นใหม่ ประมาณ 4 เท่าของอาชีพเดิม ภายในระยะเวลา 4 ปีเท่านั้น
นั่นคือ... ความรู้ในมหาวิทยาลัยวิ่งไม่ทันตลาดแรงงานหรอกครับ
เพราะเมื่อเราเรียนจบปีสี่จะมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายและเป็นสาขาอาชีพที่มหาวิทยาลัยยังไม่ได้เปิดสอน
นักเรียนนักศึกษาที่อยากรู้ว่า... เรียนสาขาอะไรจะหางานง่าย เรียนสาขาไหนจบมาแล้วรายได้สูง
ตอบได้เลยครับ.......... ต้องเรียนและเตรียมพร้อมที่จะทำงานใหม่ ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นมามากมายนี่แหละ และสาขาอาชีพใหม่ ๆ นี้ ที่ผมเรียกว่า…
สาขาแห่งอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทางออกของปัญหาภาวะโลกร้อน

สาเหตุของภาวะโลกร้อนนั้นคือการที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นการแก้ปัญหาก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีง่ายๆ ร่วมกันหยุดโลกร้อน

อาบน้ำด้วยฝักบัว
ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ใช้หลอดไฟตะเกียบ
ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า
ใช้ตู้เย็นแบบ 2 ประตู
เปิดแอร์ที่ 25 องศา
ใช้แล็บท็อปจอแบน

พกถุงผ้าไปช็อปปิ้ง
ใส่เสื้อผ้าฝ้ายออร์แกนิค และใช้เครื่องใช้รีไซเคิล
ปลูกต้นไม้
กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง
เดินแทนขับ
เช็คลมยาง
ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลให้มากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน

ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ก๊าซมีเทน ( CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาในบรรยากาศไม่น้อยหน้าประเทศอื่น โดยมีที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า

ข้อสอบ onet 53

รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
2
ข้อสอบมี 2 ส่วน จำนวน 86 ข้อ : คะแนนเต็ม 80 คะแนน
ส่วนที่ 1 จำนวน 68 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 68 คะแนน
ส่วนที่ 2 จำนวน 18 ข้อ เป็นชุดคำถาม 6 ชุด ชุดละ 3 ข้อ ชุดละ 2 คะแนน
รวม 12 คะแนน
ส่วนที่ 1 : แบบระบายตัวเลือก แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ข้อ 1 - 68 : ข้อละ 1 คะแนน
1. เซลล์ที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ : ดีเอ็นเอ ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ และ
ไมโทคอนเดรีย เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใด
1. แบคทีเรีย
2. พืชเท่านั้น
3. สัตว์เท่านั้น
4. อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
2. กระบวนการใดไม่พบในกระบวนการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไต
1. การแพร่
2. ออสโมซิส
3. เอนโดไซโทซิส
4. การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
3
3. เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
3. แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว
4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้
4. การดื่มน้ำส้มเป็นปริมาณมาก ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด
1. เป็นกรดจริง เพราะวิตามินซีละลายน้ำได้
2. เป็นกรดจริง เพราะน้ำส้มมีรสเปรี้ยวและมีปริมาณกรดสูง
3. ไม่เป็นกรด เพราะเลือดมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์
4. ไม่เป็นกรด เพราะร่างกายจะได้รับอันตรายได้หากเลือดมีสภาวะเป็นกรด
5. วิธีการในข้อใดที่ใช้ควบคุมโรคไวรัสในพืชได้ผลดีที่สุด
1. การเผาทำลายพืช
2. การฉีดวัคซีน
3. การใช้ยาปฏิชีวนะ
4. การเพิ่มไนโตรเจนในดิน
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
4
6. เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคน ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยสร้างสารใดมาต่อสู้
1. ซีรุ่ม
2. แอนติเจน
3. ทอกซอยด์
4. แอนติบอดี
7. เมื่อหยดน้ำเกลือลงบนสไลด์ที่มีใบสาหร่ายหางกระรอกอยู่ จะสังเกตเห็นการ
เปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด
1. น้ำกลั่น
2. น้ำเชื่อม
3. น้ำนมสด
4. แอลกอฮอล์
8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับดีเอ็นเอ
1. ดีเอ็นเอพบได้ในคลอโรพลาสต์
2. ดีเอ็นเอทำหน้าที่กำหนดชนิดของโปรตีน
3. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีปริมาณดีเอ็นเอไม่เท่ากัน
4. ไนโตรเจนเบสชนิดกวานีนและไซโทซีนจะจับคู่กันด้วยพันธะคู่เสมอ
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
5
9. ถ้าพ่อมีหมู่เลือด B แม่มีหมู่เลือด A และมีลูกชายที่มีหมู่เลือด O โอกาสที่จะได้ลูกสาว
ที่มีหมู่เลือด O เป็นเท่าใด
1. 1/2
2. 1/4
3. 1/8
4. 1/16
10. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
1. เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง
2. ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
3. เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโกลบิน
4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้
11. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชัน
1. มีอัตราการเกิดได้สูงตามธรรมชาติ
2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ
3. เกิดขึ้นได้เฉพาะในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว
4. มิวเทชันในเซลล์ทุกชนิดสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
6
12. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการโคลน
1. ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มีเพศเดียวกับสัตว์ต้นแบบ
2. เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์
3. แฝดเหมือนคือตัวอย่างของการโคลนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
4. แกะดอลลีเกิดจากการโคลนโดยใช้เซลล์บริเวณเต้านมเป็นต้นแบบ
13. ข้อใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
1. แตงโมไม่มีเมล็ด
2. กล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
4. กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการฉายรังสีแกมมา
14. หลักฐานในข้อใดที่ไม่สามารถใช้ตรวจหาฆาตกรโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
1. เส้นผม
2. ลายนิ้วมือ
3. คราบอสุจิ
4. คราบเลือด
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
7
15. ในระบบนิเวศซึ่งประกอบด้วย เหยี่ยว งู กระรอก หญ้า และตั๊กแตน สิ่งมีชีวิต
ในข้อใดมีมวลชีวภาพน้อยที่สุด
1. งู
2. เหยี่ยว
3. หญ้า
4. กระรอกและตั๊กแตน
16. กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบใดนำไปสู่การเกิดระบบนิเวศหลังจากการ
ระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะหนึ่ง
1. แบบปฐมภูมิ
2. แบบทุติยภูมิ
3. แบบตติยภูมิ
4. แบบจตุรภูมิ
17. ข้อใดไม่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ
1. ความหลากหลายของสปีชีส์
2. ความหลากหลายของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต
3. ความหลากหลายของแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
4. ความหลากหลายของสารเคมีต่างๆ รอบสิ่งมีชีวิต
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
8
18. ทรัพยากรที่เกิดขึ้นทดแทนใหม่ได้ในข้อใดที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดใน
ปัจจุบัน
1. พลังงานน้ำ
2. พลังงานลม
3. พลังงานจากคลื่น
4. พลังงานแสงอาทิตย์
19. เมื่อมีสารประกอบไนเตรตและฟอสเฟตสะสมอยู่ในแหล่งน้ำเป็นปริมาณมาก
ปรากฏการณ์ใดจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก
1. ปริมาณแพลงตอนสัตว์จะเพิ่มขึ้น
2. จำนวนของแพลงตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำจะเพิ่มขึ้น
3. สารพิษตกค้าง เช่น สารกำจัดแมลง จะมีปริมาณการสะสมสูงขึ้น
4. ปริมาณสัตว์น้ำ เช่น ปลา สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จะเพิ่มขึ้น
20. สัตว์ป่าในข้อใดมีสถานภาพปัจจุบันแตกต่างไปจากข้ออื่นทั้งหมด
1. พะยูน ช้าง
2. ควายป่า กระทิง วัวแดง
3. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร กูปรี
4. นกแต้วแล้วท้องดำ เลียงผา
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
9
ตารางธาตุ
H He
Li Be B C N O F Ne
Na Mg Al Si P S Cl Ar
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
Cs Ba * Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
Fr Ra ** Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Uub Uut Uuq Uup Uuh Uus Uuo
* Lanthanides La Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
** Actinides Ac Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr
21. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
1. กรดไรโบนิวคลีอิกทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน
2. คาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไหม้ไขมันเป็นไปอย่างสมบูรณ์
3. ปฏิกิริยาการเตรียมสบู่จากน้ำมันเรียกว่า “สะปอนนิฟิเคชัน (saponification)”
4. โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นแรกของร่างกายโดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน
4 กิโลแคลอรี
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
10
22. การทดสอบสาร ก สาร ข สาร ค และ สาร ง ได้ผลดังนี้
􀀹 หมายถึง ละลายในน้ำ หรือ ให้สีน้ำเงินกับไอโอดีน หรือ
เกิดตะกอนสีแดงอิฐกับสารละลายเบนิดิกต์
􀀸 หมายถึง ไม่เปลี่ยนแปลง
การทดสอบ สาร
ก ข ค ง
การละลายน้ำ 􀀸 􀀹 􀀸 􀀹
สารละลายไอโอดีน 􀀹 􀀸 􀀸 􀀸
สารละลายเบนิดิกต์ 􀀸 􀀸 􀀸 􀀹
HCl ตามด้วยสารละลายเบนิดิกต์ 􀀹 􀀹 􀀹 􀀹
สาร ก สาร ข สาร ค และ สาร ง ควรเป็นสารใดตามลำดับ
1. แป้งข้าวโพด น้ำเชื่อม ใยไหม กลูโคส
2. แป้งผัดหน้า ฟรักโทส ใยสำลี น้ำตาลทราย
3. แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย ใยบวบ ฟรักโทส
4. แป้งสาลี แอสพาร์แทม ใยแมงมุม กลูโคส
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
11
23. ปริมาณของไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และสารอื่น ๆ ในน้ำมันเป็นดังตาราง
ชนิดน้ำมัน/ไขมัน ไขมันอิ่มตัว (%) ไขมันไม่อิ่มตัว (%) อื่น ๆ (%)
น้ำมันถั่วเหลือง 15 52 33
น้ำมันมะพร้าว 86 0 14
น้ำมันไก่ 23 24 53
ไขมันวัว 48 2 50
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
1. ไขมันวัวจะเหม็นหืนเร็วกว่าน้ำมันไก่
2. น้ำมันถั่วเหลืองเหม็นหืนช้ากว่าน้ำมันมะพร้าว
3. น้ำมันถั่วเหลืองเหมาะสำหรับทอดอาหารมากกว่าน้ำมันมะพร้าว
4. ถ้าใช้น้ำมันที่มีจำนวนเท่ากัน น้ำมันถั่วเหลืองจะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนโดยใช้
ปริมาณมากที่สุด
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
12
24. กำหนดโครงสร้างของกรดอะมิโน A, B และ C โดย A และ B เป็นกรดอะมิโนจำเป็น
H2N CH
CH2
COOH
CH(CH3)2
H2N CH
CH(CH3)2
COOH H2N CH
CH2
COOH
OH
A B C
ข้อความใดถูกต้อง
1. เพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้ง 3 ชนิด ข้างต้นโดยไม่มีกรดที่ซ้ำกันมี
ทั้งหมด 3 ชนิด
2. เพปไทด์ที่เกิดจากกรด A และกรด B ทำปฏิกิริยากับ CuSO4 ในสภาวะเบสให้
สารสีม่วง
3. เพปไทด์ที่เกิดจากกรด A กรด B และกรด C เป็นไตรเพปไทด์ที่มีจำนวนพันธะ
เพปไทด์ 3 พันธะ
4. ในร่างกายมนุษย์จะไม่พบโปรตีนที่มีกรดอะมิโน A และ B เป็นองค์ประกอบ
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
13
25. กำหนดสาย X ของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิกชนิดหนึ่งมีลำดับของเบสดังนี้
(A = อะดีนีน, C = ไซโตซีน, G = กวานีน, T = ไทมีน)
G A T G T C A
X X
สาย Y ที่เป็นคู่ของสาย X จะมีลำดับเบสเป็นไปตามข้อใด
1.
T G A C A T C
Y Y
2.
C A T C A G T
Y Y
3.
C T A C T C A
Y Y
4.
T G A G T A C
Y Y
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
14
26. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่น
ปิโตรเลียม
1. มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
2. เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
3. มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
4. ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม
27. เมื่อนำยางชนิดหนึ่งที่มีสมบัติยืดหยุ่นมาเผาไฟ พบว่าเกิดแก๊สที่ละลายน้ำแล้วได้
สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด ชนิดของยางและแก๊สที่เกิดขึ้นเป็นข้อใด
ชนิดของยาง ควันที่เกิดจากการเผา
1. ซิลิโคน SiO2
2. ยางวัลคาไนซ์ SO2
3. พอลิไวนิลแอซีเตท HCl
4. ไนลอน 66 NH3
28. ข้อใดไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
1. การเคี้ยวข้าวก่อนกลืน
2. การฟอกสบู่ในน้ำกระด้าง
3. การทาแล็กเกอร์เคลือบผิวไม้
4. การผสมกลีเซอรอลกับเอทานอล
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
15
29. ไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่เบาที่สุด ใช้ทำให้บอลลูนลอยตัวขึ้นในอากาศได้ แต่ในทาง
ปฏิบัติจะใช้แก๊สฮีเลียมซึ่งหนักกว่า เพราะเหตุผลหลักตามข้อใด
1. แก๊สไฮโดรเจนติดไฟได้ง่าย
2. แก๊สไฮโดรเจนมีราคาแพงกว่าแก๊สฮีเลียม
3. ต้องใช้แก๊สไฮโดรเจนปริมาณมากกว่าการใช้ฮีเลียม
4. ฮีเลียมแยกได้จากธรรมชาติ แต่แก๊สไฮโดรเจนต้องผ่านกระบวนการผลิต
30. ข้อใดระบุชนิดของแก๊สและกรดที่เกิดจากการนำแก๊สนั้นไปละลายในน้ำได้ถูกต้อง
1. อีเทน - กรดน้ำส้ม
2. คลอรีน - กรดเกลือ
3. ไนโตรเจน - กรดไนตริก
4. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ - กรดซัลฟิวริก
31. เมื่อนำสาร A มาเผาในบรรยากาศออกซิเจน O2 (g) จะได้ไอน้ำ H2O(g) และแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ CO2(g)
สาร A ในปฏิกริยาข้างต้นไม่ใช่สารใดในข้อต่อไปนี้
1. แก๊สไฮโดรเจน
2. แก๊สโซฮอล์
3. แก๊สบิวเทน
4. แก๊สธรรมชาติ
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
16
32. สารละลาย X, Y และ Z ต่างก็เป็นสารละลายใสที่ไม่มีสี เมื่อนำแต่ละชนิดที่มีความ
เข้มข้นและปริมาณเท่ากัน มาผสมกันที่อุณหภูมิเป็น 25°C ได้ผลดังตาราง
การผสมสารละลาย อุณหภูมิหลังผสม (°C) สิ่งที่สังเกตเห็น
X กับ Y 24 สารละลายสีฟ้า
Y กับ Z 25 ใส ไม่มีสี
ข้อสรุปใดไม่ถูกต้อง
1. X กับ Y เกิดปฏิกิริยาคายความร้อน
2. Y กับ Z เป็นสารละลายชนิดเดียวกัน
3. Y กับ Z ทำปฏิกิริยากันโดยไม่คายความร้อน
4. Y กับ Z เป็นสารละลายต่างชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน
33. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1. สบู่ กำจัดไขมันได้เพราะละลายในน้ำแต่ไม่ละลายน้ำมัน
2. การผสมยาลดกรดในกระเพาะลงในน้ำแล้วเกิดแก๊ส แสดงว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
3. การต้มน้ำนมจะทำให้โปรตีนแปลงสภาพ ซึ่งจะกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อเย็นลง
4. แบตเตอรีรถยนต์ที่ใช้แผ่นตะกั่วและกรดซัลฟิวริก เมื่อใช้งานแผ่นตะกั่วจะทำ
หน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพราะเมื่อใช้งานเสร็จแล้วแผ่นตะกั่วไม่เปลี่ยนแปลง
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
17
34. ข้อใดที่แสดงว่าผิวสัมผัสมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
1. กระดาษฝอยติดไฟได้เร็วกว่าแผ่นกระดาษ
2. แผ่นสังกะสีปกติทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้ช้ากว่าแผ่นสังกะสีที่มี
ลวดทองแดงพันอยู่
3. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่เป็นแท่งยาวทำให้มีอายุการใช้
งานนานกว่าที่ใช้เป็นก้อนเล็กๆ
4. แบตเตอรีรถยนต์ที่มีจำนวนแผ่นตะกั่วมากกว่าให้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าที่มีจำนวน
แผ่นน้อยกว่า
35. ข้อใดที่ไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1. เกลือเม็ดดูดความชื้นเร็วกว่าผลึกน้ำตาลทราย
2. กระดาษมีอายุการใช้งานน้อยกว่าพลาสติก
3. แบตเตอรีปรอท กับแบตเตอรีอัลคาไลน์มีอายุใช้งานไม่เท่ากัน
4. เหล็กที่อยู่ในอากาศและความชื้นจะผุกร่อนได้เร็วกว่าอะลูมิเนียม
36. ไอออนบวกของไฮโดรเจน (H+) ขาดอนุภาคมูลฐานข้อใด
1. โปรตอน
2. อิเล็กตรอน
3. นิวตรอน และ อิเล็กตรอน
4. โปรตอน และ อิเล็กตรอน
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
18
37. ธาตุในข้อใดที่เป็นไอโซโทปกับธาตุที่มีสัญลักษณ์เป็น 115A
1. 125B 2. 126B
3. 115B 4. 116B
38. ธาตุ 3 ชนิดมีสัญลักษณ์ดังนี้ 48A 1237B 1357C
ข้อใดเป็นสูตรเคมีของสารประกอบฟลูออไรด์ของธาตุทั้งสามชนิดตามลำดับ
1. AF BF3 CF2
2. AF B2F3 CF2
3. AF2 B2F3 CF
4. AF2 BF3 CF
39. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. เกลือแกงและโซดาไฟเป็นสารประกอบของโลหะหมู่ 1A
ข. สารประกอบไอออนิกที่มีสถานะเป็นของแข็งสามารถนำไฟฟ้าได้
ค. โลหะแทรนซิชันมีสมบัติทางกายภาพเหมือนโลหะหมู่ 1A และ 2A
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. ก และ ข
2. ข และ ค
3. ก และ ค
4. ก ข และ ค
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
19
40. ธาตุกัมมันตรังสีธรรมชาติ X มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,000 ปี นักธรณีวิทยาค้นพบซาก
ของสัตว์โบราณที่มีปริมาณธาตุกัมมันตรังสี X เหลืออยู่เพียง 6.25% ของปริมาณ
เริ่มต้น สัตว์โบราณนี้มีชีวิตโดยประมาณเมื่อกี่ปีมาแล้ว
1. 10,000 ปี 2. 15,000 ปี
3. 20,000 ปี 4. 25,000 ปี
41. วัตถุอันหนึ่งเมื่ออยู่บนโลกที่มีสนามโน้มถ่วง g พบว่ามีน้ำหนักเท่ากับ 1 W ถ้านำ
วัตถุนี้ไปไว้บนดาวเคราะห์อีกดวงพบว่ามีน้ำหนัก 2 W จงหามวลของวัตถุนี้
1. 1 W
g 2. 2 W
g
3. 1 2 W W
g
+ 4. 2 1
2
W W
g
+
42. วางเข็มทิศอันหนึ่งบนโต๊ะ เข็มทิศชี้ขึ้นในลักษณะดังรูป ถ้านำประจุบวกไปวางไว้
ทางด้านซ้ายของเข็มทิศ จะเกิดอะไรขึ้น
1. เข็มทิศชี้ไปทางขวา 2. เข็มทิศชี้ไปทางซ้าย
3. เข็มทิศชี้ลง 4. เข็มทิศชี้ทางเดิม
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
20
43. ในรูปซ้าย A และ B คือเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาค 2 อนุภาคที่ถูกยิงมาจาก
จุด P ไปทางขวาเข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก (ดูรูปซ้าย) ถ้านำอนุภาคทั้งสอง
ไปวางลงในบริเวณที่มีสนามไฟฟ้าดังรูปขวา จะเกิดอะไรขึ้น
(ด แทนสนามแม่เหล็กที่มีทิศพุ่งเข้าและตั้งฉากกับกระดาษ)
1. A เคลื่อนที่ไปทางขวา ส่วน B เคลื่อนที่ไปทางซ้าย
2. A เคลื่อนที่ไปทางซ้าย ส่วน B เคลื่อนที่ไปทางขวา
3. ทั้ง A และ B ต่างก็เคลื่อนที่ไปทางขวา
4. ทั้ง A และ B ต่างก็อยู่นิ่งกับที่
สนามไฟฟ้า
ด ด ด ด ด ด ด
ด ด ด ด ด ด ด
ด ด ด ด ด ด ด
ด ด ด ด ด ด ด
P
A
B
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
21
44. ยิงอนุภาคอิเล็กตรอนเข้าไปในแนวตั้งฉากกับสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอที่มีทิศพุ่งออก
จากกระดาษ เส้นทางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเป็นอย่างไร (g แทนทิศ
สนามไฟฟ้าพุ่งออกและตั้งฉากกับกระดาษ)
1. เบนขึ้น
2. เบนลง
3. เบนพุ่งออกจากกระดาษ
4. เบนพุ่งเข้าหากระดาษ
45. โปรตอนและนิวตรอนสามารถอยู่รวมกันเป็นนิวเคลียสได้ ด้วยแรงใด
1. แรงดึงดูดระหว่างมวล 2. แรงไฟฟ้า
3. แรงแม่เหล็ก 4. แรงนิวเคลียร์
46. วัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง โดยมีตำแหน่งที่เวลาต่างๆ ดังกราฟ
ข้อใดคือการกระจัดของวัตถุ ในช่วงเวลา t = 0 วินาที จนถึง t = 8 วินาที
1. -8 เมตร 2. -4 เมตร
3. 0 เมตร 4. +8 เมตร
g g g g g g g g g g
g g g g g g g g g g
g g g g g g g g g g
g g g g g g g g g g
สนามไฟฟ้า
อิเล็กตรอน
6
- 4
ตำแหน่ง (เมตร)
2 4 เวลา (วินาที)
8
+ 4
0
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
22
47. ตอนเริ่มต้นวัตถุอยู่ห่างจากจุดอ้างอิงไปทางขวา 4.0 เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 10 วินาที
พบว่าวัตถุอยู่ห่างจากจุดอ้างอิงไปทางซ้าย 8.0 เมตร จงหาความเร็วเฉลี่ยของวัตถุนี้
1. 0.4 เมตรต่อวินาที
2. 0.4 เมตรต่อวินาที ทางซ้าย
3. 1.2 เมตรต่อวินาที
4. 1.2 เมตรต่อวินาที ทางซ้าย
48. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเคลื่อนที่ที่มีขนาดการกระจัดน้อยที่สุด
1. เดินไปทางขวาด้วยอัตราเร็วคงตัว 3 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 4 วินาที
2. เดินไปทางซ้ายด้วยอัตราเร็วคงตัว 4 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 3 วินาที
3. เดินไปทางขวา 10 เมตร แล้วเดินย้อนกลับมาทางซ้าย 2 เมตร
4. ทั้งสามข้อ มีขนาดการกระจัดเท่ากันหมด
49. ข้อใดที่วัตถุมีความเร่งไปทางซ้าย
1. วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวาแล้วเคลื่อนที่เร็วขึ้น
2. วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวาแล้วเคลื่อนที่ช้าลง
3. วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายแล้วเคลื่อนที่ช้าลง
4. วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายแล้วหยุด
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
23
50. ลูกตุ้มนาฬิกาแกว่งแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย พบว่าผ่านจุดต่ำสุด ทุกๆ 2.1 วินาที
ความถี่ของการแกว่งของลูกตุ้มนี้เป็นไปตามข้อใด
1. 0.24 เฮิรตซ์ 2. 0.48 เฮิรตซ์
3. 2.1 เฮิรตซ์ 4. 4.2 เฮิรตซ์
51. ผูกเชือกเข้ากับจุกยาง แล้วเหวี่ยงให้จุกยางเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนว
ระดับเหนือศีรษะด้วยอัตราเร็วคงตัว ข้อใดถูกต้อง
1. จุกยางมีความเร็วคงตัว
2. จุกยางมีความเร่งเป็นศูนย์
3. แรงที่กระทำต่อจุกยางมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางวงกลม
4. แรงที่กระทำต่อจุกยางมีทิศเดียวกับความเร็วของจุกยาง
52. ยิงลูกปืนออกไปในแนวระดับ ทำให้ลูกปืนเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ตอนที่ลูกปืน
กำลังจะกระทบพื้น ข้อใดถูกต้องที่สุด (ไม่ต้องคิดแรงต้านอากาศ)
1. ความเร็วในแนวระดับเป็นศูนย์
2. ความเร็วในแนวระดับเท่ากับความเร็วตอนต้นที่ลูกปืนถูกยิงออกมา
3. ความเร็วในแนวระดับมีขนาดมากกว่าตอนที่ถูกยิงออกมา
4. ความเร็วในแนวระดับมีขนาดน้อยกว่าตอนที่ถูกยิงออกมาแต่ไม่เป็นศูนย์
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
24
53. ในการทดลองเพื่อสังเกตผลของสิ่งกีดขวางเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน เป็นการศึกษา
สมบัติตามข้อใดของคลื่น
1. การหักเห
2. การเลี้ยวเบน
3. การสะท้อน
4. การแทรกสอด
54. ทำให้เกิดคลื่นบนเส้นเชือกที่ปลายทั้งสองด้านถูกขึงตึง พบว่ามีความถี่และความยาว
คลื่นค่าหนึ่ง ถ้าทำให้ความถี่ในการสั่นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของความถี่เดิม ข้อใดถูกต้อง
1. ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเนื่องจากคลื่นเคลื่อนที่ใน
ตัวกลางเดิม
2. ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เนื่องจากปริมาณทั้งสองแปรผัน
ตามกัน
3. ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกเท่าเดิม เนื่องจากคลื่นเกิดบนตัวกลางเดิม
4. ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกเท่าเดิม แต่อัตราเร็วของคลื่นเพิ่มเป็นสองเท่าตาม
สมการ v = f l
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
25
55. วัสดุที่ใช้ในการบุผนังโรงภาพยนตร์มีผลในการลดปรากฏการณ์ใดของเสียง
1. การหักเห
2. การสะท้อน
3. การสั่นพ้อง
4. ดอพเพลอร์
56. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดมีอัตราเร็วในสุญญากาศเท่ากัน
2. มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิดต้องอาศัยตัวกลางในการเดินทาง
3. เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางในตัวกลางที่เปลี่ยนไป อัตราเร็วของคลื่น
จะเปลี่ยนไป
4. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่มีทั้งสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
57. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในข้อใดที่ไม่มีผลต่อการแผ่กระจายของคลื่นวิทยุ
1. การเปลี่ยนขนาดของจุดดับบนดวงอาทิตย์
2. การเกิดแสงเหนือแสงใต้
3. การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง
4. การเกิดกลางวัน กลางคืน
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
26
58. ถ้ารังสีแกมมาพุ่งเข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กซึ่งมีทิศตั้งฉากกับการเคลื่อนที่
ของรังสีภายในสนามแม่เหล็กดังกล่าว รังสีแกมมามีแนวทางการเคลื่อนที่เป็นไป
ตามข้อใด
1. เบนไปด้านข้าง
2. เคลื่อนที่เป็นวงกลม
3. เคลื่อนที่ในแนวทางเดิม
4. ย้อนกลับทางเดิม
59. ในทางการแพทย์ ไอโอดีน-131 นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด
1. ตรวจการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
2. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
3. รักษาโรคมะเร็ง
4. รักษาเนื้องอกในสมอง
60. แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ในประเทศไทย มักจะมีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในประเทศใด
1. ไทย
2. พม่า
3. ลาว
4. อินโดนีเซีย
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
27
61. ขอบทวีปใดมีรูปร่างต่อกันได้พอดี
1. ตะวันตกของแอฟริกา กับ ตะวันออกของอเมริกาใต้
2. ตะวันตกของเอเชีย กับ ตะวันออกของอเมริกาเหนือ
3. ตะวันตกของยุโรป กับ ตะวันออกของเอเชีย
4. เหนือของออสเตรเลีย กับ ใต้ของอเมริกาใต้
62. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ประเทศไทยมีแผ่นดินไหวขนาดที่รู้สึกได้ โดยเฉลี่ยแล้ว 1 ครั้งทุกๆ 5 ปี
2. แผ่นดินไหวในประเทศไทย มักเกิดในบริเวณแนวรอยเลื่อนมีพลัง
3. แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยมีจำนวนหลายสิบแนว
4. แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันตกและ
ภาคเหนือ
63. ปัจจุบันมีภูเขาไฟที่มีพลัง อยู่บนโลกเป็นจำนวนประมาณเท่าใด
1. 100 ลูก
2. 1,000 ลูก
3. 10,000 ลูก
4. 100,000 ลูก
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
28
64. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น กลุ่มดาวนายพราน
1. ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีอายุใกล้เคียงกัน
2. ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีอันดับความสว่างปรากฏใกล้เคียงกัน
3. ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีระยะห่างจากโลกใกล้เคียงกัน
4. ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีตำแหน่งที่ปรากฏใกล้เคียงกัน
65. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์
1. มีอายุพอๆ กับโลก
2. มีมวลประมาณ 50% ของมวลของระบบสุริยะ
3. องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน
4. จะมีวาระสุดท้ายเป็นดาวแคระดำ
66. เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันนั้นควรจะเป็นวันใด
1. แรม 1 ค่ำ
2. ขึ้น 15 ค่ำ
3. แรม 8 ค่ำ
4. แรม 15 ค่ำ
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
29
67. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานีอวกาศนานาชาติ
1. วิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่สามารถทำได้บนโลก
2. เจ้าหน้าที่ในสถานีจะอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก
3. อยู่ในวงโคจรค้างฟ้า
4. มีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ตลอดเวลา
68. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของกระสวยอวกาศในปัจจุบัน
1. เพื่อการท่องเที่ยว
2. เพื่อส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร
3. เพื่อใช้เป็นสถานีอวกาศ
4. เพื่อใช้วิจัยทางวิทยาศาสตร์
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
30
ส่วนที่ 2 : แบบระบายตัวเลือก จำนวน 18 ข้อ (ข้อ 69 - 86) คะแนนรวม 12 คะแนน
ข้อสอบต่อไปนี้เป็นชุดคำถาม 6 ชุด ชุดละ 3 ข้อ ชุดละ 2 คะแนน ซึ่งในแต่ละชุด
ต้องทำถูกทั้ง 3 ข้อ จึงจะได้คะแนน 2 คะแนน หากทำผิดข้อใดข้อหนึ่งที่อยู่ในชุดนั้นๆ
จะไม่ได้คะแนน
ชุดที่ 1 (ข้อ 69-71)
69. ไอออนของธาตุ X มีจำนวนโปรตอน นิวตรอน และ อิเล็กตรอน เท่ากับ 9, 10, 10
ตามลำดับ ธาตุ X มีสัญลักษณ์เป็นไปตามข้อใด
1. 199X 2. 219X
3. 2101X 4. 1211X
70. สารบริสุทธ์ของธาตุ X ในข้อที่ 69 มีสูตรโมเลกุลตามข้อใด
1. F2 2. Cl2
3. N2 4. O2
71. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของธาตุ X ในข้อที่ 69
1. สาร X มีสถานะเป็นแก๊ส
2. ไอออนที่เสถียรของธาตุ X มีประจุ -1
3. ธาตุ X พบได้ในบางส่วนของร่างกายคน
4. ธาตุ X กับธาตุ Ca เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตรเป็น CaX
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
31
ชุดที่ 2 (ข้อ 72-74)
72. ยูเรียเตรียมจากแก๊สแอมโมเนียและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยปฏิกิริยาดังนี้
2NH3(g) + CO2(g) → (NH2) 2CO(s) + H2O(g)
การทดลองในภาชนะปิดและชั่งน้ำหนักยูเรียที่เกิดขึ้นที่เวลาต่างกันได้ผลดังตาราง
เวลาที่ใช้ (นาที) น้ำหนักยูเรียที่เกิดขึ้น (กรัม)
1 1.6
2 2.6
3 4
4 4.2
5 4.2
ข้อใดสรุปไม่ถูกต้อง
1. ปฏิกิริยาสิ้นสุดหลังจากนาทีที่ 4
2. อัตราปฏิกิริยาลดลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น
3. อัตราปฏิกิริยาที่นาทีที่ 4 และนาทีที่ 5 มีค่าเท่ากัน
4. อัตราเฉลี่ยเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดพอดีมีค่าเป็น 1.05 กรัมต่อนาที
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
32
73. ตามปฏิกิริยาในข้อ 72 ถ้าเริ่มต้นใช้แอมโมเนีย 3 โมล และคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมล
เมื่อปฏิกิริยาเกิดได้สมบูรณ์ แก๊สทุกชนิดที่อยู่ในภาชนะ จะมีจำนวนโมลโดยรวมตาม
ข้อใด
1. 1 โมล 2. 2 โมล
3. 3 โมล 4. 4 โมล
74. ตามปฏิกิริยาในข้อ 72 ถ้านำแก๊สที่เกิดขึ้นทั้งหมดพ่นลงในน้ำ สารละลายที่ได้
เป็นสารในข้อใด
1. กรดคาร์บอนิก
2. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์
3. แอมโมเนียมคาร์บอเนต
4. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และกรดคาร์บอนิก
ชุดที่ 3 (ข้อ 75-77)
75. โยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ขึ้น ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
1. ความเร่งมีทิศขึ้น
2. ความเร่งมีทิศลง
3. ความเร่งเป็นศูนย์
4. ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะบอกทิศของความเร่ง
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
33
76. โยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง ในขณะที่วัตถุอยู่ที่จุดสูงสุดพอดี ความเร่งของวัตถุมีทิศใด
1. ความเร่งเป็นศูนย์
2. ความเร่งมีทิศขึ้น
3. ความเร่งมีทิศลง
4. ความเร่งกำลังเปลี่ยนทิศ
77. โยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ลง ความเร่งของวัตถุมีทิศใด
1. ความเร่งมีทิศขึ้น
2. ความเร่งมีทิศลง
3. ความเร่งเป็นศูนย์
4. ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะบอกทิศของความเร่ง
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
34
ชุดที่ 4 (ข้อ 78-80)
78. เมื่อเปิดให้ลำโพงทำงาน อนุภาคของฝุ่นที่อยู่ด้านหน้าของลำโพงดังรูป
จะมีการเคลื่อนที่อย่างไร
1. เคลื่อนที่ออกจากลำโพง
2. สั่นขึ้นลงในแนวดิ่ง
3. สั่นไปมาในแนวระดับ
4. เคลื่อนที่ออกเป็นรูปคลื่น
79. เหตุผลสำหรับคำตอบในข้อที่ 78 คือข้อใด
1. พลังงานเคลื่อนที่ออกจากลำโพง
2. เสียงเป็นคลื่นรูปซายน์
3. เสียงเป็นคลื่นตามขวาง
4. เสียงเป็นคลื่นตามยาว
ลำโพง
ฝุ่น
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
35
80. คลื่นเสียงเป็นคลื่นชนิดใด
1. คลื่นตามยาว
2. คลื่นตามขวาง
3. คลื่นผสมที่มีทั้งตามยาวและตามขวาง
4. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ชุดที่ 5 (ข้อ 81-83)
พิจารณาชั้นหินที่วางซ้อนกันดังรูป แล้วตอบคำถามข้อ 81 ถึง 83
ชั้น ก กระดูกช้าง ซากต้นพืช (บนสุดมีต้นหญ้า)
ชั้น ข กระดูกช้าง ซากต้นพืช หอยแครง
ชั้น ค หอยแครง
ชั้น ง แมงดาทะเล แอมโมไนต์
ชั้น จ แอมโมไนต์
81. ชั้นหินในข้อใดเก่าแก่ที่สุด
1. ชั้น ก 2. ชั้น ข
3. ชั้น ค 4. ชั้น จ
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
36
82. ฟอสซิลในข้อใดที่พบในตัวอย่างนี้ที่สามารถใช้เป็นฟอสซิลดัชนีได้
1. หอยแครง 2. แอมโมไนต์
3. แมงดาทะเล 4. ช้าง
83. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาพของสถานที่แห่งนี้
1. เคยเป็นทะเลมาก่อน ปัจจุบันเป็นบก
2. เคยเป็นบกมาก่อน แล้วเป็นทะเลในภายหลัง
3. ไม่เคยเป็นทะเลเลย
4. เป็นทะเลทั้งอดีตและปัจจุบัน
ชุดที่ 6 (ข้อ 84-86)
84. ข้อใดเรียงลำดับความสว่างที่ปรากฏของดาวจากสว่างน้อยไปมากได้ถูกต้อง
1. ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดวงจันทร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวซีรีอัส
2. ดาวซีรีอัส ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดวงจันทร์เมื่อสว่างที่สุด
3. ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวซีรีอัส ดวงจันทร์เมื่อสว่างที่สุด
4. ดวงจันทร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวซีรีอัส
รหัสวิชา 05 วิทยาศาสตร์ หน้า
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.30 - 13.30 น.
ฉบับ 1 สำหรับการสอบปกติ
37
85. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอันดับความสว่าง
1. มีค่าเป็นบวกเท่านั้น
2. ค่ามากแสดงว่าสว่างมาก
3. ค่าเป็นศูนย์แสดงว่าไม่มีแสงในตัวเอง
4. เป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย
86. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอันดับความสว่างของดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุดกับอันดับความ
สว่างของดวงอาทิตย์
1. ค่าใกล้เคียงกัน
2. ค่าของดาวศุกร์มากกว่า
3. ค่าของดาวศุกร์น้อยกว่า
4. เปรียบเทียบกันไม่ได้
􀃘 􀃘 􀃘 􀃘 􀃘

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ของไหล(Fluids)

ของไหล(Fluids)

หมายถึงสสารซึ่งสามารถไหลได้มีรูปร่างไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุได้แก่ ของเหลวและกาซ การศึกษากฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับของไหลได้แก่ของไหลที่อยู่นิ่ง ซึ่งเรียกว่า อุทกสถิตศาสตร์(hydrostatics) อันมี ความดันในของไหล หลักของพาสคัล หลักของอาร์คิมีดีส และความตึงผิว ส่วนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับของไหลเคลื่อนที่ซึ่งเรียกว่า อุทกพลศาสตร์(hydrodynamics) จะศึกษา สมการการต่อเนื่อง สมการของแบร์นูลี่ และความหนืด
อุทกสถิตศาสตร์ของไหลที่อยู่นิ่งจะไม่มีแรงสัมผัส(tangential force) กระทำ เพราะแรงนี้จะมีผลให้ ชั้นของของไหลเลื่อนผ่านชั้นอื่นๆต่อๆกันไป คือจะเกิดการไหลนั่นเอง ดังนั้นสำหรับของไหลที่อยู่นิ่งจะมีแรงกระทำตั้งฉากกับผิวของไหลเท่านั้น เรียกขนาดของแรงกระทำตั้งฉากนี้ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ผิวว่า ความดัน(pressure) ความดันนี้จะส่งต่อไปยังส่วนต่างๆของของไหลและถึงผิวภาชนะในทิศตั้งฉาก

รักอย่างธรรม-ทำอย่างพุทธ

หากถามว่า... วันที่ ๑๔ กุมภา เป็นวันอะไร ?? ทุกคนคงทราบกันดีว่า..เป็นวันวาเลนไทน์.. เป็นวันแห่งความรักของหนุ่ม-สาว.. แต่ในทางพระพุทธศาสนา.. ถือเอาวันมาฆบูชา..ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันพระธรรม..วันแห่งความรัก.. ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา.. ได้ทรงมอบหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ในการดำเนินชีวิตให้แก่ชาวโลก.. พระองค์ทรงวางหลักในการดำเนินของชาวพุทธ.. เพื่อสร้างความรักอันยิ่งใหญ่ให้แก่ชาวโลก.. ด้วยพระโอวาท ๓ ข้อ..ได้แก่..
โอวาทข้อที่ ๑.
คือ..การไม่ทำบาปทั้งปวง..จัดเป็นศีล””ได้แก่..ไม่ฆ่าสัตว์...ไม่ลักทรัพย์..ไม่ประพฤติในกาม.. ไม่พูดเท็จ..เว้นจากอบายมุขทั้งปวง..

โอวาทข้อที่ ๒.
คือ..การทำกุศลให้ถึงพร้อม..จัดเป็นสมาธิ.. ได้แก่..มีเมตตา..ประกอบอาชีพสุจริต.. ยินดีในของ ๆ ตน..มีสัจจะ..มีสติไม่ประมาท..

โอวาทข้อที่ ๓.
คือ..การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์..จัดเป็นปัญญา.. ได้แก่..หมั่นเจริญจิตภาวนา..
รู้และเข้าใจตนเอง..รักษาจิตปล่อยวาง.. นอกจากนี้.. เราชาวพุทธควรดำเนินตามวิธีการดำเนินชีวิต..

ที่พระพุทธองค์ทรงไว้วาง..๖ ข้อ.. ได้แก่..
๑. จะต้องไม่ไปพูดร้ายป้ายสีใคร..
๒. จะต้องไม่ไปทำร้ายใคร..
๓. จะต้องเคร่งครัดระเบียบวินัย กิริยามารยาท..
๔. ไม่เห็นแก่ปากแก่ต้อง กิน/อยู่..พอดี..
๕. ต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ชุมชนที่ดี..สงบสงัด..ห่างไกลแห่งอบายมุข..
๖. ต้องอบรมจิตของตนให้พัฒนาก้าวหน้า.. และต้องยึดมั่นอย่างแท้จริงและจริงใจ..
ในอุดมการณ์ของชาวพุทธ...คือ.. มีขันติ..ความอดทน..เป็นธรรมเครื่องเผากิเลส.. ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.. ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตใคร..เพื่อจุดมุ่งหมายอันสูงสุด..คือ..พระนิพพาน.. จิตใจสงบนิ่ง..เย็นเป็นปกติ..สงบเย็น..ตลอดเวลา..

นี่คือ..พระธรรมอันยิ่งใหญ่..
ที่พระองค์ทรงมีความรัก..ความเมตตา..อันหาประมาณมิได้..ต่อชาวโลก.เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข..


บทความ..โดย..ชายน้อย..

ปัญหาและอุปสรรค...

ปัญหาและอุปสรรค... เป็นแบบทดสอบในสนามแห่งชีวิต... ชีวิตที่ยังคงมีลมหายใจให้ได้ดิ้นรน เพื่อให้ผ่านพ้นมันไปได้ ปัญหามิได้สอนให้หดหู่ จมทุกข์และสิ้นหวัง... แต่มันกลับสอนให้เราเข้าใจคำว่า...ชี วิ ต... มากขึ้นกว่าทุก ๆ วัน จะแปลกอะไรหากต้องเจอ และล้ม...เพราะอุปสรรคบ้างสักครั้ง...

เพราะหากไม่เคยล้ม เราคงไม่รู้วิธีที่จะยืนขึ้นอีกครั้ง ผ่านกี่ฝน...หลบกี่หนาว... เจอทุกข์...สุข... คละเคล้าทั้งเสียงหัวเราะ...และน้ำตา ทุกวันก็ยังตื่นขึ้นมา... พร้อมลมหายใจเพื่อจะเดินต่อไป เราไม่มีวันรู้หรอกว่า พรุ่งนี้ต้องเจอสิ่งใดบ้าง และจะรับมือกับสิ่งนั้นได้อย่างไร แต่เมื่อถึงเวลานั้น...
เราจะรู้ว่าอดีตได้บ่มเพาะ และสอนให้เราเรียนรู้ถึงความเข้มแข็งไว้ในตัวเรา เพื่อต่อสู้กับอีกหลาย ๆ ทุกข์ที่กำลังจะถูกพัดพา...เข้ามา

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ณ ห้องเรียนวิชาฟิสิกสื

เตรียมสอบ เข้าเรียนต่อ

วิดีโอ ฟิสกสื ม.4

ลูกเทวดา

เพลง : ลูกเทวดา
ศิลปิน : สนุ๊ก สิงมาตร
เนื้อเพลง :

ลูกซายบังเกิดเกล้าอีหลิตั้วเนี่ย โอ๊ยลูกหล่าลูกเทวดาของแม่ ตื่นแม้ลูกคำเอ๊ยตื่นขึ่นมาหากินเข่ากิปลามันสิบ่มีแฮงต่อเด้ะมื่อแลงฮั่นน่ะลูกค่ำลูกคูณลูกแม่ลูกเทวดาคือเว่าง่ายแท้น้อเอ้ย...ลูกชายคนดีก่อนนี้มันมาดแมน ลูกชายคนดีตอนนี้มันบ่แม่น เฮ็ดงานบ่เป็น ยามเว็นพักสายตา ยามแลงลงมาถ่าเบิ่งมันห่าวไปเที่ยวเบิดคืนกลับมาเอายามเซ้าไปเที่ยวเหมิดคืนกลับมามีแต่เมาบ่ฟังคำเว่าบ่ฟังดอกคำจาลูกเอ๋ยลูกหล่าพญา..ของแม่มื้อหนึ้งมื่อหนึ่งเวียกงานบ่เคยแลมื่อหนึ่งมื้อหนึ่งขี่คร้านคักแท้รีดไถแต่เงินแม่เด่มือและฮ่ายใส่ขั่นบ่ได้ดังใจ กะเคียดมันโกรธธาแมะๆขอตังจักหยังยามเห็นหน้าแมะแม้ะขอตังท่องเอาไว้ลูกเทวดาอย่าให่เพิ่นได้โกรธธาเดี๋ยวโลกาสิบรรลัย สิบรรลัยเทวดาของแม่เทวดาของแม่(.ๆ.)บรรทมสำราญแท้ลูกฮักลูกแพง(.ๆ.)ลูกเทวดาลูกฮักลูกแพง(.ๆ.)ลูกฮักลูกแพงลูกค่ำลูกคูณ(.ๆ.)ลูกชายเทวดาเกิดมาบ่สนใจ ลูกชายเทวดาเกิดมาบ่เอาไผ แต่งแต่รถมอเตอร์ไซเท่ไปก็เท่มา ให่ไทบ้านเขาซาไปทั่ว เมิดบ้านโทรศัพคุยสาวแม่เอ้ยเป็นวันๆ โทรศัพคุยสาวแม่เอ้ยจนรำคาญ ขี่รถเลาะบ้านแป่นแป้นฮอดโรงเรียนเฮ็ดให่สาวกระโปงเฮี่ยนแนมเบิ่งว่าบ่ได้เทียวงานยามได๋ มอเตอร์ไซกวนเมืองเที่ยวงานยามได๋ขึ้นซื่อลือเลื่องมันซอบหาเรื่องหน่าฮ่านหมอลำ ขวดลอยประจำ มันเท่ มันสะใจ แม่สอนแม่ว่าเทวดากะฮ้ายใส่แม่สอนแม่ว่ารำคาญตะคอกใสโอ้ยบักเทวดาใหญ่บัดสุดท้ายบ่หวิดแม่ ๆ เทวดาของแม่เทวดาของแม่(.ๆ.)ลูกฮักลูกแพงลูกฮักลูกแพง(.ๆ.)ลูกค้ำลูกคูณลูกค้ำลูกคูณ(.ๆ.)เทวดาของแม่เทวดาของแม่(.ๆ.)เฮ่อ..ลูกซายบังเกิดเกล้าอีหลิตั้วเนี่ย



โลกร้อน...จริงๆหรือ

“ภาวะโลกร้อน (Global Warming)” Why “climate change” and “global warming” are not the same thing? “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)” เป็นคำที่กล่าวโดยรวม ถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนในช่วงระยะเวลายาวนานหลายศตวรรษและจากหลายสาเหตุและปัจจัย (sunspot variations, volcanic eruptions, changes in the large-scale ocean current conveyor belt, and to a lesser extent, changes in the earth's albedo.) ส่วนคำว่า “สภาวะโลกร้อน (global warming)” มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของ “ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases, GHG)” ซึ่งประกอบด้วยกาซหลักได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ก๊าซเมธ-เอน และ ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ ทำให้เกิดการสะสมของความร้อนบริเวณชั้นผิวโลก (troposphere =>9-12 Km.) อุณหภูมิของโลกจึงเพิ่มสูงขึ้น สภาวะโลกร้อน (global warming) จึงเป็นอาการหนึ่งของ “ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ” ซึ่งเป็นอาการที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในอาการที่เกิดจากปัจจัยตัวอื่นๆ การสะสมของกาซเรือนกระจกดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิงที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuels) การทำลายป่า การปลูกข้าวแบบน้ำขัง เป็นต้น

แสง คืออะไร

แสงสามารถแสดงคุณสมบัติได้ทั้งคุณสมบัติของคลื่นและคุณสมบัติของอนุภาค นั่นก็คือแสงเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติคู่ของคลื่น-อนุภาคนั่นเอง โดยที่คุณสมบัติคลื่นของแสงจะเกี่ยวข้องกับประกฏการณ์แทรกสอดและปรากฏการณ์เลี้ยวเบน ส่วนคุณสมบัติอนุภาคของแสงจะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริก

แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การค้นพบที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่18 คือการที่แมกซ์เวลค้นพบว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับคลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุรังสียูวี รังสีเอกซ์เรย์และรังสีแกมมา คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละชนิดแตกต่างกันที่ความยาวคลื่น และเรียกแถบความยาวคลื่นทั้งหมดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า แถบสเปคตรัม โดยที่แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงของสเปคตรัมที่สามารถมองเห็นได้ซึ่งมีความยาวคลื่นระหว่างประมาณ 400 - 750 นาโนเมตร

รวมโอวาทธรรมครูบาอาจารย์


โอวาท พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

วัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง กรุงเทพมหานคร



ในพวกเราชาวสยามนี้ ควรเห็นได้ว่าเป็นคนมีบุญมาก เกิดมาได้พบพุทธศาสนาทีเดียว ดัวยบรรพบุรุษพาถือมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว อย่าพากันมีความประมาท พึงตั้งใจปฏิบัติให้เห็นผลจนรู้สึกตัวว่า เรามีที่พึ่งอันใดแล้ว จึงจะเป็นคนที่ไม่เสียทีที่ได้พบพระพุทธศาสนา

อะไรเป็นปัจจัยของอวิชชา เรานั่นแหละเป็นปัจจัยของอวิชชา อะไรเป็นปัจจัยของเรา อวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัยของเรา ถ้ามีอวิชชาก็มีเรา ถ้ามีเราก็มีอวิชชา

ตำราแบบแผนมิใช่ยา ยามิใช่ตำราแบบแผน ความไข้ไม่ได้หายด้วยยาอย่างเดียว ต้องอาศัยกินยานั้นด้วยไข้จึงหาย


โอวาท หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี



ธรรมะก็มีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกเจ้าทั้งหลาย ท่านได้เสียสละเช่น ความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น พระองค์ท่านผู้มีคนยกย่องสรรเสริญ คอยปฏิบัติวัฏฐากแล้วได้เสียสละมานอนกับดินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ถึงกับอดอาหารเป็นต้น

การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือ ธรรมะ เป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ อันเป็นสถานที่สงบสงัด และได้ทรงพิจารณาซึ่งความจริง คือ อริยสัจ 4 นี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า

โอวาท หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร



สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งของที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำความผูกพัน และมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปมิได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นที่จะสำเร็จเป็นประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บริบทของไหล


นวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้ ผ่านระบบเครือข่าย Internet ชุดของไหลสาระการเรียนรู้ ฟิสิกส์ ว 42201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 7 ตอน ประกอบด้วย

ตอนที่ 1 ความหนาแน่น
ตอนที่ 2 ความดันในของเหลว
ตอนที่ 3 กฎพาสคัล และเครื่องอัดไฮดรอลิก

ตอนที่ 4 แรงลอยตัว และหลักของอาร์คิมีดิส
ตอนที่ 5 ความตึงผิว

ตอนที่ 6 ความหนืด
ตอนที่ 7 พลศาสตร์ของของไหล